messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง info_outline ข้อมูลการติดต่อ

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง

อำเภองาว จังหวัดลำปาง

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง

check_circle สถานที่ท่องเที่ยว
ภาพรอปรับปรุง
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญรอปรับปรุง
สถานที่ท่องเที่ยว
ภาพ

รอปรับปรุง
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ

รอปรับปรุง
info_outline วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์หน่วยงาน วิสัยทัศน์ตำบลบ้านร้อง ตำบลบ้านร้องสุขภาพดี มีความพอเพียง
วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์หน่วยงาน

วิสัยทัศน์ตำบลบ้านร้อง ตำบลบ้านร้องสุขภาพดี มีความพอเพียง
check_circle ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลทั่วไป องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ และประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๙ มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๓๙ โดยปัจจุบันมีหมู่บ้านที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน ผู้บริหารจำนวน ๑ คน และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง จำนวน ๑๓ คน ตำบลบ้านร้อง ในสมัยอดีตกาลมีนามว่าร่องข่อย มีแม่น้ำน้อยใหญ่ไหลผ่านและบริเวณแม่น้ำมีต้นข่อยอยู่หนาแน่น แต่ปัจจุบันถูกทำลายไปหมดสิ้นจนไม่มีให้เห็น วัตถุโบราณอันเป็นสถานที่เก่าแก่มาแต่ดึกดำบรรพ์ เหลือเพียงแต่ซากปรักหักพังของวัดที่เก่าแก่ คือวัดศิริคำ (หรือวัดกู่คำ) เล่าสืบกันมาว่า ลูกหลานของพระเจ้าไชยศิริ ได้อพยพลงมาตั้งรากฐาน เมื่อสมัยเมืองเชียงแสนแตก เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๗๐๒ ปัจจุบันได้ทิ้งร้างไปแล้ว ในสมัยหลายร้อยปี เคยตกเป็นเขตปกครองของเวียงแป้นมาก่อน อนึ่งคำว่าร่องข่อยก็คือตำบลบ้านร้องนั่นเอง ในสมัยต่อมาบ้านเมืองเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ ประชากรในหมู่บ้านได้ขยายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทางการจึงได้ขยายหมู่บ้านเพิ่มขึ้น เดิมมีเพียงแค่ ๒ หมู่บ้านเท่านั้น คือ บ้านร้อง และบ้านข่อย ต่อจากนั้นมาทางการมีความจำเป็นที่จะต้องขยายเขตการปกครองในท้องถิ่นให้มากขึ้น จึงเห็นพ้องต้องกันจัดตั้ง (กำนัน) สมัยนั้นเรียกว่า แขว่น เพื่อสะดวกในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย พระยาใจ สุภา เป็นคนแรกที่ทางการแต่งตั้งเป็นกำนันของตำบลบ้านร้อง ปลายปี พ.ศ.๒๔๓๐ รวมเวลา ๑๐ กว่าปี พระยาใจก็ไม่สามารถที่จะทำงานต่อไปได้ เพราะอายุมากแล้ว ต่อมาเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๔๔๕ ได้แต่งตั้งนายวงค์ ยินดี ซึ่งเป็นน้องเขยของพระยาใจ สุภา เป็นกำนันแทน พระยาใจ สุภา จึงขนานนามว่า ขุนร้อยราชรักษา ประจำตำบลบ้านร้อง และได้ตั้งตำบลขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๕ ตำบลบ้านร้องมีกำนันปกครองอยู่ ๑๒ สมัย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้ ทำเนียบกำนันตำบลบ้านร้อง อันดับที่ ชื่อ - สกุล พ.ศ. บ้าน ๑ พยาใจ สุภา ๒๔๓๐ หมู่ ๒ ๒ ขุนร้อยราชรักษา (นายวงค์ ยินดี) ๒๔๔๕ หมู่ ๒ ๓ นายแสง สุภา ๒๔๖๐ หมู่ ๒ ๔ นายอ้าย คำเย็น ๒๔๖๕ หมู่ ๔ ๕ นายตุ้ม สุวรรณโน ๒๔๗๕ หมู่ ๒ ๖ นายโฉม ศรีปัญญา ๒๔๘๖ หมู่ ๒ ๗ นายตุ้ม สุวรรณโน ๒๔๘๖-๒๕๑๑ หมู่ ๒ ๘ นายแก้วมา ฉัตรแก้ว ๒๕๑๑-๒๕๒๐ หมู่ ๔ ๙ นายแก้วมา ราชไชยา ๒๕๒๐-๒๕๓๓ หมู่ ๒ ๑๐ นายเสริฐ จิตตคำ ๑๑ พ.ย. ๒๕๓๓ – ๒๕๔๙ หมู่ ๒ ๑๑ นายปกรณ์ ไชยวัฒนา ๒๕๔๙ หมู่ ๒ ๑๒ นายศรีมูล วงค์ปัน ๒๒ ก.พ.๒๕๕๐ – ปัจจุบัน หมู่ ๘ สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง …………………..……………… ๑. สภาพทั่วไป ๑.๑ ที่ตั้ง (แสดงที่ตั้งและระยะห่างจากอำเภอ) ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง เลขที่ 137 หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากอำเภองาวไปทางทิศเหนือ ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดลำปาง ประมาณ 100 กิโลเมตร ส่วนที่ตั้งตำบลบ้านร้องทั้งหมดจะทอดตัวเป็นแนวยาวจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ของอำเภองาว โดยที่ว่าการอำเภองาวจะอยู่ทางทิศใต้ของพื้นที่ตำบลบ้านร้อง ๑.๒ อาณาเขตและพื้นที่ มีพื้นที่ทั้งหมด ๓๗๕.๙๘ ตารางกิโลเมตร (๒๒๓,๗๓๗.๕๐ ไร่) มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ทิศใต้ ติดต่อตำบลปงเตา อำเภองาว จังหวัดลำปาง ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลหนองหล่ม อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลวังทอง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ตำบลปงดอน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ๑.๓ ภูมิประเทศ (แสดงภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบล) ลักษณะภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง มีลักษณะเป็น ๒ พื้นที่ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำงาวระหว่างหุบเขา และพื้นที่ภูเขาสูงลาดชัน ที่ลาดเอียงและลูกคลื่นลอนตื้นสลับกับเนินเขา และภูเขาสูงติดจังหวัดพะเยา ๑.๔ จำนวนหมู่บ้าน ๑๓ หมู่บ้าน (แสดงจำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในเขต อบต.) หมู่ที่ ๑ บ้านนาแรม นายชงค์ ศรีชมภู ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๒ บ้านร้อง นายชวน เฉียงเหนือ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๓ บ้านสบป๋อน นายปรินทร์ธวัช คำผง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๔ บ้านข่อย นายโชคทวี สุภา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๕ บ้านผาแดง นายจำนง ทะจักร์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๖ บ้านปากบอก นายบุญติ๋ง ดีใจ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๗ บ้านแม่งาวใต้ นายเอกวัส ปัญญาดี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๘ บ้านใหม่พัฒนา นายศรีมูล วงค์ปัน กำนันตำบลบ้านร้อง หมู่ที่ ๙ บ้านท่าเจริญ นายเปรม เทพา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑๐ บ้านร้องพัฒนา นายสมบูรณ์ บ่อเงิน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑๑ บ้านขวัญคีรี นายศรีทอง สมพงษ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑๒ บ้านชนแดน นายถาวร ศรีพิศุทธิ์ตระกูล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑๓ บ้านแม่คำหล้า นายพิพัฒน์ ขวัญธนธีระวุฒิ ผู้ใหญ่บ้าน ๑.๕ เขตการปกครอง ตำบลบ้านร้อง มีจำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด ๑๓ หมู่บ้าน มีจำนวนครัวเรือน ๒,๔๒๖ ครัวเรือน มีจำนวนประชากรรวม ๖,๑๓๑ คน (ชาย ๓,๐๔๑ คน/หญิง ๓,๐๙๐ คน)รายละเอียดดังนี้ ( ข้อมูลประชากรตามทะเบียนราษฎร เดือนตุลาคม ๒๕๖๕ ) หมู่ที่ บ้าน จำนวนครัวเรือน ชาย(คน) หญิง (คน) รวม(คน) ๑ บ้านนาแรม ๒๐๕ ๒๖๑ ๒๖๔ ๕๒๕ ๒ บ้านร้อง ๒๗๖ ๓๒๖ ๓๕๑ ๖๗๗ ๓ บ้านสบป๋อน ๒๙๖ ๓๔๔ ๓๔๓ ๖๘๗ ๔ บ้านข่อย ๒๐๖ ๒๒๐ ๒๔๘ ๔๖๘ ๕ บ้านผาแดง ๒๘๒ ๓๒๗ ๓๑๖ ๖๔๓ ๖ บ้านปากบอก ๑๐๒ ๑๒๔ ๑๒๘ ๒๕๒ ๗ บ้านแม่งาวใต้ ๑๖๐ ๒๐๒ ๒๐๕ ๔๐๗ ๘ บ้านใหม่พัฒนา ๘๓ ๑๑๙ ๑๐๑ ๒๒๐ ๙ บ้านท่าเจริญ ๒๐๙ ๒๔๔ ๒๓๖ ๔๘0 ๑๐ บ้านร้องพัฒนา ๒๑๓ ๒๗๖ ๒๙๖ ๕๗๒ ๑๑ บ้านขวัญคีรี ๑๓๐ ๑๘๖ ๑๘๘ ๓๗๔ ๑๒ บ้านชนแดน ๑๕๓ ๒๔๐ ๒๓๕ ๔๗๕ ๑๓ บ้านแม่คำหล้า ๑๑๑ ๑๗๒ ๑๗๙ ๓๕๑ รวม ๒,๔๒๖ ๓,๐๔๑ ๓,๐๙๐ ๖,๑๓๑ ๒. สภาพทางเศรษฐกิจ ๒.๑ อาชีพ (แสดงอาชีพของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล) ประชาชน ร้อยละ ๘๐ ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมและการปศุสัตว์ รองลงมาเป็นการค้ามีบางส่วนประกอบอาชีพรับจ้างในเมืองและกรุงเทพฯ มีการประกอบอาชีพทางด้านการพาณิชย์เพียงเล็กน้อย ผลผลิตทางการเกษตรในแต่ละพื้นที่ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ประชาชนมีรายได้เฉลี่ย ๕๘,๓๙๑.๔๑ บาท/ปี การประกอบอาชีพของราษฎร โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพดังนี้ - ด้านการเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ เพื่อการบริโภคและเพื่อการจำหน่ายโดยมี พืชผลทางการเกษตร ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ขิง ลิ้นจี่ ฯลฯ ซึ่งในการจัดจำหน่ายนั้นจะผ่านพ่อค้าคนกลางเข้ามาซื้อผลผลิต และอาจมีบางส่วนที่เกษตรกรนำไปจำหน่ายเอง - ด้านการปศุสัตว์ เช่น เลี้ยงสัตว์ จะเลี้ยงเพื่อการบริโภคและเพื่อใช้แรงงานสัตว์ ได้แก่ โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ ปลา เป็นต้น ส่วนใหญ่จะเลี้ยงแบบปล่อยตามตามธรรมชาติ - ด้านอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น ไม้เกะสลัก เครื่องเรือน เครื่องจักสานนอกจากนี้การประกอบอาชีพหลักของหลักของราษฎร ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ประกอบอาชีพอื่น ๆ อีกเช่นการค้าขาย รับจ้างทั่วไปในต่างท้องที่ ๒.๒ หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล - ตลาดสด ๑ แห่ง - ร้านอาหาร ๑๗ แห่ง - โรงงานไม้ไผ่แปรรูป(ถ่านอัดแท่ง) ๒ แห่ง - ร้านขายของชำ ๕๐ แห่ง - ร้านซ่อมรถ ๗ แห่ง - โรงสีข้าว ๕ แห่ง - ร้านก๋วยเตี๋ยว ๑๕ แห่ง - ปั๊มน้ำมันหลอด ๘ แห่ง ๓. สภาพทางสังคม ๑. การศึกษา - โรงเรียนระดับประถมศึกษา ๔ แห่ง ๑. โรงเรียนชุมชนบ้านร้อง ๒. โรงเรียนบ้านข่อยมิตรภาพที่ ๑๑๐ โรงเรียนบ้านข่อยมิตรภาพที่ ๑๑๐ (สาขาแม่งาว) ๓. โรงเรียนผาแดงวิทยา ๔. โรงเรียนบ้านแม่งาวใต้ - โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ๒ แห่ง ๑. โรงเรียนประชาราชวิทยา ๒. โรงเรียนผาแดงวิทยา (ขยายโอกาส) - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๔ แห่ง ๑ สาขา ๑. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านร้อง ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๑๐ บ้านร้องพัฒนา *ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านร้อง (สาขาบ้านขวัญคีรี) ๒. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผาแดง ๓. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่งาวใต้ ๔. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่คำหล้า - หอกระจายข่าว ๑๓ แห่ง - ศูนย์รวมการเรียนรู้ ๑ แห่ง ๒. สถาบันและองค์กรทางศาสนา - วัด ๔ แห่ง - สำนักสงฆ์ ๖ แห่ง - โบสถ์ ๒ แห่ง ๓. การสาธารณสุข - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ๒ แห่ง ๑. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล บ้านสบป๋อน ๒. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล บ้านใหม่พัฒนา - ศูนย์สาธารณะสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน ๑๓ แห่ง - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ๑๔๔ แห่ง - อัตราการมีส้วมซึมและใช้ส้วมราดน้ำ ทุกหลังคาเรือน ๔. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน - อาสาสมัครพลเรือนป้องกันและรักษาความสงบ ๓๒ คน ๕. ด้านอื่น ๆ - โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๑๕ แห่ง คือ หมู่ที่ ๑,๒,๓,๔,๕,๖,๗,๘,๙,๑๐ - ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ๑ แห่ง - อู่ซ่อมรถ ,ไปรษณีย์ , ร้านขายยา ,ศาลาพักร้อน , ร้านอาหาร , ร้านขายของ เบ็ดเตล็ด ,ตลาดสด ,โรงสีข้าว , บริการเหล่านี้กระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ๔. การบริการพื้นฐาน ๑. การคมนาคมและขนส่ง การคมนาคมขนส่งระหว่างตำบลใช้เส้นทางถนนในการเดินทางและการขนส่งโดยมีเส้นทางที่สำคัญจำนวน ๒ สาย ได้แก่ ๑. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๑ ถนนพหลโยธิน(งาว – พะเยา ) เป็นถนนลาดยางจาก อำเภองาว จังหวัดลำปาง ไปจังหวัดพะเยา ไปทางทิศเหนือ ผ่านตำบลนาแก ตำบลปงเตา ตำบลบ้านร้อง และไปจังหวัดลำปางทางทิศใต้ ๒. ถนนสายใหม่ (พะเยา – เชียงใหม่) เป็นถนนลาดยาง แยกจาก ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถนนพหลโยธิน (งาว – พะเยา) ผ่านตำบลแม่นาเรือ จังหวัดพะเยา แล้วแยกถนน (พะเยา – เชียงใหม่) ของกรมทางหลวงเข้าสู่ถนนของกรมโยธาธิการ เข้าสู่หมู่บ้านปากบอก หมู่ที่ ๖ ,หมู่ที่ ๘ บ้านใหม่พัฒนา ,หมู่ที่ ๕ บ้านผาแดง , หมู่ที่ ๗ บ้านแม่งาวใต้ ซึ่งห่างจากตำบลบ้านร้องประมาณ ๗๐ กิโลเมตร การคมนาคมเดินทางระหว่างหมู่บ้านภายในตำบลลักษณะถนนเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ ถนนดินลูกรัง และถนนดินบางหมู่บ้าน (หมู่ที่ ๑๑ และหมู่ที่ ๑๓) ๓. แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรมและอุปโภค ๓.๑ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม - แม่น้ำงาว(ลำน้ำ) ๑ แห่ง - ลำห้วย ๘ แห่ง - ฝาย ๑๘ แห่ง - สระน้ำ,หนอง ๗ แห่ง ส่วนใหญ่แหล่งน้ำเหล่านี้มักประสบปัญหาแห้งขอดหรือมีสภาพตื้นเขิน ในหน้าแล้ง ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะปลูกได้ตลอดปี ๓.๒ แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค – บริโภค - มีประปาตำบลบ้านร้อง จำนวน ๑ แห่ง - ประปาหมู่บ้าน (ม.1,3,4,6,9) จำนวน ๕ แห่ง - มีประปาภูเขา จำนวน ๘ แห่ง - บ่อน้ำตื้น จำนวน ๔๑๖ แห่ง ๕. ไฟฟ้า ตำบลบ้านร้องมีจำนวนหมู่บ้านที่มีไฟฟ้าใช้ ๑๓ หมู่บ้าน จำนวน ๒,๔๒๐ หลังคาเรือน ๖. ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง มีทรัพยากรป่าไม้ในเขตพื้นที่ยังอุดมสมบูรณ์อยู่มากทั้งไม้ยืนต้นนา ๆ ชนิดและไม้ไผ่ซึ่งป่าไม้ทั้งหมดอยู่ในความดูแลของป่าไม้ และอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ซึ่งถือว่าเป็นป่าไม้โซนเอ
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลทั่วไป

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ และประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๙ มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๓๙ โดยปัจจุบันมีหมู่บ้านที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน ผู้บริหารจำนวน ๑ คน และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง จำนวน ๑๓ คน ตำบลบ้านร้อง ในสมัยอดีตกาลมีนามว่าร่องข่อย มีแม่น้ำน้อยใหญ่ไหลผ่านและบริเวณแม่น้ำมีต้นข่อยอยู่หนาแน่น แต่ปัจจุบันถูกทำลายไปหมดสิ้นจนไม่มีให้เห็น วัตถุโบราณอันเป็นสถานที่เก่าแก่มาแต่ดึกดำบรรพ์ เหลือเพียงแต่ซากปรักหักพังของวัดที่เก่าแก่ คือวัดศิริคำ (หรือวัดกู่คำ) เล่าสืบกันมาว่า ลูกหลานของพระเจ้าไชยศิริ ได้อพยพลงมาตั้งรากฐาน เมื่อสมัยเมืองเชียงแสนแตก เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๗๐๒ ปัจจุบันได้ทิ้งร้างไปแล้ว ในสมัยหลายร้อยปี เคยตกเป็นเขตปกครองของเวียงแป้นมาก่อน อนึ่งคำว่าร่องข่อยก็คือตำบลบ้านร้องนั่นเอง ในสมัยต่อมาบ้านเมืองเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ ประชากรในหมู่บ้านได้ขยายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทางการจึงได้ขยายหมู่บ้านเพิ่มขึ้น เดิมมีเพียงแค่ ๒ หมู่บ้านเท่านั้น คือ บ้านร้อง และบ้านข่อย ต่อจากนั้นมาทางการมีความจำเป็นที่จะต้องขยายเขตการปกครองในท้องถิ่นให้มากขึ้น จึงเห็นพ้องต้องกันจัดตั้ง (กำนัน) สมัยนั้นเรียกว่า แขว่น เพื่อสะดวกในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย พระยาใจ สุภา เป็นคนแรกที่ทางการแต่งตั้งเป็นกำนันของตำบลบ้านร้อง ปลายปี พ.ศ.๒๔๓๐ รวมเวลา ๑๐ กว่าปี พระยาใจก็ไม่สามารถที่จะทำงานต่อไปได้ เพราะอายุมากแล้ว ต่อมาเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๔๔๕ ได้แต่งตั้งนายวงค์ ยินดี ซึ่งเป็นน้องเขยของพระยาใจ สุภา เป็นกำนันแทน พระยาใจ สุภา จึงขนานนามว่า ขุนร้อยราชรักษา ประจำตำบลบ้านร้อง และได้ตั้งตำบลขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๕ ตำบลบ้านร้องมีกำนันปกครองอยู่ ๑๒ สมัย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้ ทำเนียบกำนันตำบลบ้านร้อง อันดับที่ ชื่อ - สกุล พ.ศ. บ้าน ๑ พยาใจ สุภา ๒๔๓๐ หมู่ ๒ ๒ ขุนร้อยราชรักษา (นายวงค์ ยินดี) ๒๔๔๕ หมู่ ๒ ๓ นายแสง สุภา ๒๔๖๐ หมู่ ๒ ๔ นายอ้าย คำเย็น ๒๔๖๕ หมู่ ๔ ๕ นายตุ้ม สุวรรณโน ๒๔๗๕ หมู่ ๒ ๖ นายโฉม ศรีปัญญา ๒๔๘๖ หมู่ ๒ ๗ นายตุ้ม สุวรรณโน ๒๔๘๖-๒๕๑๑ หมู่ ๒ ๘ นายแก้วมา ฉัตรแก้ว ๒๕๑๑-๒๕๒๐ หมู่ ๔ ๙ นายแก้วมา ราชไชยา ๒๕๒๐-๒๕๓๓ หมู่ ๒ ๑๐ นายเสริฐ จิตตคำ ๑๑ พ.ย. ๒๕๓๓ – ๒๕๔๙ หมู่ ๒ ๑๑ นายปกรณ์ ไชยวัฒนา ๒๕๔๙ หมู่ ๒ ๑๒ นายศรีมูล วงค์ปัน ๒๒ ก.พ.๒๕๕๐ – ปัจจุบัน หมู่ ๘ สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง …………………..……………… ๑. สภาพทั่วไป ๑.๑ ที่ตั้ง (แสดงที่ตั้งและระยะห่างจากอำเภอ) ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง เลขที่ 137 หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากอำเภองาวไปทางทิศเหนือ ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดลำปาง ประมาณ 100 กิโลเมตร ส่วนที่ตั้งตำบลบ้านร้องทั้งหมดจะทอดตัวเป็นแนวยาวจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ของอำเภองาว โดยที่ว่าการอำเภองาวจะอยู่ทางทิศใต้ของพื้นที่ตำบลบ้านร้อง ๑.๒ อาณาเขตและพื้นที่ มีพื้นที่ทั้งหมด ๓๗๕.๙๘ ตารางกิโลเมตร (๒๒๓,๗๓๗.๕๐ ไร่) มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ทิศใต้ ติดต่อตำบลปงเตา อำเภองาว จังหวัดลำปาง ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลหนองหล่ม อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลวังทอง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ตำบลปงดอน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ๑.๓ ภูมิประเทศ (แสดงภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบล) ลักษณะภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง มีลักษณะเป็น ๒ พื้นที่ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำงาวระหว่างหุบเขา และพื้นที่ภูเขาสูงลาดชัน ที่ลาดเอียงและลูกคลื่นลอนตื้นสลับกับเนินเขา และภูเขาสูงติดจังหวัดพะเยา ๑.๔ จำนวนหมู่บ้าน ๑๓ หมู่บ้าน (แสดงจำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในเขต อบต.) หมู่ที่ ๑ บ้านนาแรม นายชงค์ ศรีชมภู ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๒ บ้านร้อง นายชวน เฉียงเหนือ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๓ บ้านสบป๋อน นายปรินทร์ธวัช คำผง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๔ บ้านข่อย นายโชคทวี สุภา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๕ บ้านผาแดง นายจำนง ทะจักร์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๖ บ้านปากบอก นายบุญติ๋ง ดีใจ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๗ บ้านแม่งาวใต้ นายเอกวัส ปัญญาดี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๘ บ้านใหม่พัฒนา นายศรีมูล วงค์ปัน กำนันตำบลบ้านร้อง หมู่ที่ ๙ บ้านท่าเจริญ นายเปรม เทพา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑๐ บ้านร้องพัฒนา นายสมบูรณ์ บ่อเงิน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑๑ บ้านขวัญคีรี นายศรีทอง สมพงษ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑๒ บ้านชนแดน นายถาวร ศรีพิศุทธิ์ตระกูล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑๓ บ้านแม่คำหล้า นายพิพัฒน์ ขวัญธนธีระวุฒิ ผู้ใหญ่บ้าน ๑.๕ เขตการปกครอง ตำบลบ้านร้อง มีจำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด ๑๓ หมู่บ้าน มีจำนวนครัวเรือน ๒,๔๒๖ ครัวเรือน มีจำนวนประชากรรวม ๖,๑๓๑ คน (ชาย ๓,๐๔๑ คน/หญิง ๓,๐๙๐ คน)รายละเอียดดังนี้ ( ข้อมูลประชากรตามทะเบียนราษฎร เดือนตุลาคม ๒๕๖๕ ) หมู่ที่ บ้าน จำนวนครัวเรือน ชาย(คน) หญิง (คน) รวม(คน) ๑ บ้านนาแรม ๒๐๕ ๒๖๑ ๒๖๔ ๕๒๕ ๒ บ้านร้อง ๒๗๖ ๓๒๖ ๓๕๑ ๖๗๗ ๓ บ้านสบป๋อน ๒๙๖ ๓๔๔ ๓๔๓ ๖๘๗ ๔ บ้านข่อย ๒๐๖ ๒๒๐ ๒๔๘ ๔๖๘ ๕ บ้านผาแดง ๒๘๒ ๓๒๗ ๓๑๖ ๖๔๓ ๖ บ้านปากบอก ๑๐๒ ๑๒๔ ๑๒๘ ๒๕๒ ๗ บ้านแม่งาวใต้ ๑๖๐ ๒๐๒ ๒๐๕ ๔๐๗ ๘ บ้านใหม่พัฒนา ๘๓ ๑๑๙ ๑๐๑ ๒๒๐ ๙ บ้านท่าเจริญ ๒๐๙ ๒๔๔ ๒๓๖ ๔๘0 ๑๐ บ้านร้องพัฒนา ๒๑๓ ๒๗๖ ๒๙๖ ๕๗๒ ๑๑ บ้านขวัญคีรี ๑๓๐ ๑๘๖ ๑๘๘ ๓๗๔ ๑๒ บ้านชนแดน ๑๕๓ ๒๔๐ ๒๓๕ ๔๗๕ ๑๓ บ้านแม่คำหล้า ๑๑๑ ๑๗๒ ๑๗๙ ๓๕๑ รวม ๒,๔๒๖ ๓,๐๔๑ ๓,๐๙๐ ๖,๑๓๑ ๒. สภาพทางเศรษฐกิจ ๒.๑ อาชีพ (แสดงอาชีพของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล) ประชาชน ร้อยละ ๘๐ ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมและการปศุสัตว์ รองลงมาเป็นการค้ามีบางส่วนประกอบอาชีพรับจ้างในเมืองและกรุงเทพฯ มีการประกอบอาชีพทางด้านการพาณิชย์เพียงเล็กน้อย ผลผลิตทางการเกษตรในแต่ละพื้นที่ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ประชาชนมีรายได้เฉลี่ย ๕๘,๓๙๑.๔๑ บาท/ปี การประกอบอาชีพของราษฎร โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพดังนี้ - ด้านการเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ เพื่อการบริโภคและเพื่อการจำหน่ายโดยมี พืชผลทางการเกษตร ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ขิง ลิ้นจี่ ฯลฯ ซึ่งในการจัดจำหน่ายนั้นจะผ่านพ่อค้าคนกลางเข้ามาซื้อผลผลิต และอาจมีบางส่วนที่เกษตรกรนำไปจำหน่ายเอง - ด้านการปศุสัตว์ เช่น เลี้ยงสัตว์ จะเลี้ยงเพื่อการบริโภคและเพื่อใช้แรงงานสัตว์ ได้แก่ โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ ปลา เป็นต้น ส่วนใหญ่จะเลี้ยงแบบปล่อยตามตามธรรมชาติ - ด้านอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น ไม้เกะสลัก เครื่องเรือน เครื่องจักสานนอกจากนี้การประกอบอาชีพหลักของหลักของราษฎร ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ประกอบอาชีพอื่น ๆ อีกเช่นการค้าขาย รับจ้างทั่วไปในต่างท้องที่ ๒.๒ หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล - ตลาดสด ๑ แห่ง - ร้านอาหาร ๑๗ แห่ง - โรงงานไม้ไผ่แปรรูป(ถ่านอัดแท่ง) ๒ แห่ง - ร้านขายของชำ ๕๐ แห่ง - ร้านซ่อมรถ ๗ แห่ง - โรงสีข้าว ๕ แห่ง - ร้านก๋วยเตี๋ยว ๑๕ แห่ง - ปั๊มน้ำมันหลอด ๘ แห่ง ๓. สภาพทางสังคม ๑. การศึกษา - โรงเรียนระดับประถมศึกษา ๔ แห่ง ๑. โรงเรียนชุมชนบ้านร้อง ๒. โรงเรียนบ้านข่อยมิตรภาพที่ ๑๑๐ โรงเรียนบ้านข่อยมิตรภาพที่ ๑๑๐ (สาขาแม่งาว) ๓. โรงเรียนผาแดงวิทยา ๔. โรงเรียนบ้านแม่งาวใต้ - โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ๒ แห่ง ๑. โรงเรียนประชาราชวิทยา ๒. โรงเรียนผาแดงวิทยา (ขยายโอกาส) - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๔ แห่ง ๑ สาขา ๑. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านร้อง ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๑๐ บ้านร้องพัฒนา *ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านร้อง (สาขาบ้านขวัญคีรี) ๒. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผาแดง ๓. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่งาวใต้ ๔. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่คำหล้า - หอกระจายข่าว ๑๓ แห่ง - ศูนย์รวมการเรียนรู้ ๑ แห่ง ๒. สถาบันและองค์กรทางศาสนา - วัด ๔ แห่ง - สำนักสงฆ์ ๖ แห่ง - โบสถ์ ๒ แห่ง ๓. การสาธารณสุข - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ๒ แห่ง ๑. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล บ้านสบป๋อน ๒. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล บ้านใหม่พัฒนา - ศูนย์สาธารณะสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน ๑๓ แห่ง - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ๑๔๔ แห่ง - อัตราการมีส้วมซึมและใช้ส้วมราดน้ำ ทุกหลังคาเรือน ๔. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน - อาสาสมัครพลเรือนป้องกันและรักษาความสงบ ๓๒ คน ๕. ด้านอื่น ๆ - โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๑๕ แห่ง คือ หมู่ที่ ๑,๒,๓,๔,๕,๖,๗,๘,๙,๑๐ - ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ๑ แห่ง - อู่ซ่อมรถ ,ไปรษณีย์ , ร้านขายยา ,ศาลาพักร้อน , ร้านอาหาร , ร้านขายของ เบ็ดเตล็ด ,ตลาดสด ,โรงสีข้าว , บริการเหล่านี้กระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ๔. การบริการพื้นฐาน ๑. การคมนาคมและขนส่ง การคมนาคมขนส่งระหว่างตำบลใช้เส้นทางถนนในการเดินทางและการขนส่งโดยมีเส้นทางที่สำคัญจำนวน ๒ สาย ได้แก่ ๑. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๑ ถนนพหลโยธิน(งาว – พะเยา ) เป็นถนนลาดยางจาก อำเภองาว จังหวัดลำปาง ไปจังหวัดพะเยา ไปทางทิศเหนือ ผ่านตำบลนาแก ตำบลปงเตา ตำบลบ้านร้อง และไปจังหวัดลำปางทางทิศใต้ ๒. ถนนสายใหม่ (พะเยา – เชียงใหม่) เป็นถนนลาดยาง แยกจาก ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถนนพหลโยธิน (งาว – พะเยา) ผ่านตำบลแม่นาเรือ จังหวัดพะเยา แล้วแยกถนน (พะเยา – เชียงใหม่) ของกรมทางหลวงเข้าสู่ถนนของกรมโยธาธิการ เข้าสู่หมู่บ้านปากบอก หมู่ที่ ๖ ,หมู่ที่ ๘ บ้านใหม่พัฒนา ,หมู่ที่ ๕ บ้านผาแดง , หมู่ที่ ๗ บ้านแม่งาวใต้ ซึ่งห่างจากตำบลบ้านร้องประมาณ ๗๐ กิโลเมตร การคมนาคมเดินทางระหว่างหมู่บ้านภายในตำบลลักษณะถนนเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ ถนนดินลูกรัง และถนนดินบางหมู่บ้าน (หมู่ที่ ๑๑ และหมู่ที่ ๑๓) ๓. แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรมและอุปโภค ๓.๑ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม - แม่น้ำงาว(ลำน้ำ) ๑ แห่ง - ลำห้วย ๘ แห่ง - ฝาย ๑๘ แห่ง - สระน้ำ,หนอง ๗ แห่ง ส่วนใหญ่แหล่งน้ำเหล่านี้มักประสบปัญหาแห้งขอดหรือมีสภาพตื้นเขิน ในหน้าแล้ง ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะปลูกได้ตลอดปี ๓.๒ แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค – บริโภค - มีประปาตำบลบ้านร้อง จำนวน ๑ แห่ง - ประปาหมู่บ้าน (ม.1,3,4,6,9) จำนวน ๕ แห่ง - มีประปาภูเขา จำนวน ๘ แห่ง - บ่อน้ำตื้น จำนวน ๔๑๖ แห่ง ๕. ไฟฟ้า ตำบลบ้านร้องมีจำนวนหมู่บ้านที่มีไฟฟ้าใช้ ๑๓ หมู่บ้าน จำนวน ๒,๔๒๐ หลังคาเรือน ๖. ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง มีทรัพยากรป่าไม้ในเขตพื้นที่ยังอุดมสมบูรณ์อยู่มากทั้งไม้ยืนต้นนา ๆ ชนิดและไม้ไผ่ซึ่งป่าไม้ทั้งหมดอยู่ในความดูแลของป่าไม้ และอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ซึ่งถือว่าเป็นป่าไม้โซนเอ
ผู้บริหาร
check_circle ผู้บริหารหน่วยงาน
นายประหยัด สุวรรณโน
นายก อบต.บ้านร้อง
โทร : 095-3728238
นายประหยัด สุวรรณโน
นายก อบต.บ้านร้อง
โทร : 095-3728238

สถิติ sitemap
วันนี้ 133
เดือนนี้1,276
ปีงบประมาณนี้(1 ต.ค.66)48,679
ทั้งหมด 220,683


× องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง